เศษอาหารที่ต้องถูกทิ้ง 900 ล้านตันในแต่ละปี
1 min reading time
1 min reading time
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเปิดเผยว่า 17% ของอาหารที่ใช้บริโภคในร้านค้าอาหารและครัวเรือนจะถูกทิ้งโดยปราศจากการบริโภค โดย 60% นั้นมาจากภาคครัวเรือน
ปรากฏการ Lockdown ทั่วโลกนั้นส่งผลกระทบอย่างน่าประหลาดใจ โดยภาคครัวเรือนมีปริมาณขยะอาหารลดลง เนื่องจากผู้คนได้วางแผนการจับจ่ายและการบริโภคอาหารอย่างระมัดระวังมากขึ้น
Richard Swannel จาก Wrap กล่าวว่าจากรายงานปัญหาระดับโลกที่ว่า "ขยะอาหารนั้นมีปริมาณที่ใหญ่กว่าที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้มาก" โดยอาหาร 923 ล้านตันที่สูญเสียไปในแต่ละปี เทียบเท่ากับรถบรรทุกขนาด 40 ตัน จำนวน 23 ล้านคัน ซึ่งสามารถต่อกันได้รอบโลกทั้งหมด 7 รอบด้วยกัน
ก่อนหน้านี้เราสันนิษฐานว่าปัญหาขยะอาหารจะเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศที่รำรวย โดยผู้บริโภคมีพฤติกรรมการซื้อมากกว่าการบริโภค แต่ในงานวิจัยกลับพบว่า "ขยะจากอาหาร" สามารถพบได้ในทุกที่ โดยประเทศที่มีรายได้ต่ำกว่าจะมีปริมาณขยะอาหารเหลือทิ้งน้อยกว่า
Inger Andersen ผู้บริหาร Unep กำลังผลักดันให้ประเทศต่างๆมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับขยะอาหาร โดยพยายามที่จะลดขยะอาหารให้ลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573
"หากเราต้องจริงจังกับการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนมลพิษและของเสียจากธุรกิจต่างๆ ภาครัฐบาลและประชาชนทั่วโลกต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดขยะอาหาร"
Richard Swannel ชี้ให้เห็นว่า "อาหารที่สูญเปล่ามีส่วนในการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 8 - 10% หากเปรียบเทียบขยะอาหารที่เหลือจากการบริโภคเป็นประเทศ ก็จะเทียบเท่ากับเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่สามของโลก"
ขยะอาหารมักถูกทิ้งโดยตั้งใจ แต่มาตรการล็อคดาวน์จากการแพร่ระบาด COVID-19 ดูเหมือนจะส่งผลกระทบอย่างชัดเจนกับปริมาณขยะอาหารได้อย่างไร
จากการวิจัยของ Wrap พบว่า มีการวางแผนการจัดเก็บอาหารอย่างระมัดระวัง และมีการปรุงอาหารเป็นชุดๆในช่วงล็อคดาวน์ ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะอาหารของผู้คนลงได้ถึง 22% เมื่อเทียบกับปี 2019
การเก็บตัวอยู่ที่บ้านจากมาตรการล็อคดาวน์ ส่งผลให้พฤติกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น การทำอาหารเป็นชุด การวางแผนมื้ออาหาร องค์กรการกุศลกล่าวว่า "ข้อมูลเชิงลึกล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ปริมาณขยะอาหารมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อหมดมาตรการล็อคดาวน์"
ในขณะที่อาหารหลายล้านตันถูกทิ้ง อีกด้านหนึ่งมีประชากรราว 690 ล้านคนได้รับผลกระทบจากความหิวโหย โดยคาดการณ์ว่าจะผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากความหิวโหยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากการเกิดโรคระบาด
Andersen ชี้ให้เห็นว่าการจัดการขยะ "จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยชะลอการทำลายธรรมชาติ และ ประหยัดเงินในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดการถดถอยทั่วโลก"
แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/news/science-environment-5627...